Time Management ทักษะจำเป็นของเด็กยุคใหม่

Time Management ทักษะจำเป็นของเด็กยุคใหม่

ถึงแม้ว่าทุกคนจะมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากันแต่ก็ใช่ว่าแต่ละคนจะใช้ประโยชน์จากเวลาที่มีได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในสังคมยุคใหม่ที่มีสิ่งล่อตาล่อใจให้เราหลุดโฟกัสจากสิ่งที่ต้องทำได้ง่ายๆ การจัดสรรเวลาหรือ Time management จึงเป็นอีกหนึ่งทักษะที่เด็กๆ ยุคนี้จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อให้พวกเขาสามารถรับมือกับโลกที่หมุนไวได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะการใช้ชีวิตในแต่ละวันอาจเกิดความเครียด ไม่เว้นแม้แต่เด็กน้อยวัยเรียน ในแต่ละวันเด็ก ๆอาจมีสิ่งที่ต้องทำมากเกินไป ทั้งไปโรงเรียน เรียนพิเศษ ทำการบ้าน ทำรายงานเตรียมพรีเซนต์หน้าห้อง อ่านหนังสือ แล้วไหนจะเวลาส่วนตัวที่พวกเขาอยากทำสิ่งต่างๆ อีก เมื่อเป็นเช่นนี้ เด็กแต่ละคนอาจรับมือกับความเครียดนี้ไม่เหมือนกัน ดังนั้นก่อนสอนลูกบริหารเวลา ลองมาทำความเข้าใจ การแสดงออกของเด็กๆ แต่ละแบบเมื่อเผชิญความเครียดเรื่องเวลากันก่อนค่ะ

การบริหารความเสี่ยงองค์กร      
ประเทศไทยมีการบริหารจัดการหลายภาคส่วนเพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าในทุกๆด้านเหมือนกับอารยะประเทศในการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชน ก็ต้องมีความเสี่ยงองค์กร และเมื่อกล่าวถึง  การบริหารความเสี่ยง  ผู้บริหารองค์กร  เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน  พนักงานทุกคนในองค์กรควรจะต้องเข้าใจในพื้นฐานของแนวความคิดของการบริหารความเสี่ยงที่ทุกคนในองค์กรต้องทำความเข้าใจร่วมกัน  เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงบรรลุเป้าประสงค์วิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร

นิยามของความเสี่ยง   ความเสี่ยงมีความหมายในหลากหลายแง่มุม เช่น
-     โอกาสที่เกิดขึ้นแล้วธุรกิจจะเกิดความเสียหาย ( Chance of Loss)
-     ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ ( Possibility of Loss)
-      ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ( Uncertainty of Event)
-      การคลาดเคลื่อนของการคาดการณ์ ( Dispersion of Actual Result)
-      ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ความเสี่ยงนั้น ๆ จะมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อยในบริษัท

การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ใน
การบริหารเชิงกลยุทธ์ นั้น ฝ่ายบริหารเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจ (Mission) และวัตถุประสงค์ขององค์การ (OrganizationalObjective) โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ(Internal and External Environment) ซึ่งวิสัยทัศน์ ภารกิจและวัตถุประสงค์ที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้กำหนดดังกล่าวจะถูกใช้เป็นกรอบในการเขียนโครงการ โดยจะมีการแบ่งโครงการ (Program) ออกเป็นหลาย ๆ โครงงาน (Project) และแบ่งโครงงานหนึ่งออกเป็นหลายๆ กิจกรรม (Activity) โดยในแต่ละกิจกรรมจะมีชุดของงาน (Job)ซึ่งเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อให้กิจกรรมนั้นสำเร็จตามเป้าหมายเมื่อหลาย ๆ กิจกรรมในโครงงานสำเร็จตามเป้าหมาย จะทำให้โครงงานนั้นประสบผลสำเร็จและเมื่อโครงงานต่าง ๆ ภายในโครงการประสบผลสำเร็จก็ย่อมจะทำให้โครงการนั้นประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ในความสำเร็จของทุก ๆขั้นตอนและทุก ๆ ระดับของการบริหารเชิงกลยุทธ์ ต้องใช้ คน เป็นผู้เข้าไปดำเนินการซึ่งการเลือกใช้ คนที่มีความสามารถ (Existent Competencies) ให้เหมาะสมกับความสามารถที่จำเป็นต่องาน (Agreed Competencies) ย่อมจะทำให้งานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

Innovation Management มิติใหม่ของการจัดการ
เมื่อนึกถึงคำว่า “นวัตกรรม” หรือ Innovation กับความเข้าใจในนิยามและความหมายของแต่ละคนอาจจะแตกต่างหลากหลายกันไป แม้แต่หนังสือต่างประเทศมากมายก็อธิบายได้ไม่เหมือนกันนอกจากนั้นยังมีการแบ่งประเภทของนวัตกรรมแยกย่อยลงไปอีกซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้เขียนหรือผู้อธิบายจะให้น้ำหนักหรือมีวัตถุประสงค์เช่นไรแต่ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นคำที่ฮิตติดลมบนไปแล้วในยุคนี้ และเมื่อใดที่คนนึกถึงอะไรก็ตามที่เป็นสิ่งใหม่ไม่ว่าจะเป็นความคิด วิธีการ หรือสิ่งของ ก็มักจะเรียกสิ่งนั้นว่าเป็นนวัตกรรมหรือนวัตกรรมใหม่ (ใหม่ซ้อนใหม่)

การจัดการนวัตกรรม (InnovationManagement หรือ IM) จึงมีความสำคัญและจำเป็นมากขึ้นทุกวันโดยเฉพาะสำหรับองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยที่จะต้องขยับปรับระบบการบริหารงานภายในไปสู่การใช้ความคิดควบคู่ไปกับทักษะแรงงานที่หลากหลายคำตอบของคำถามก็คือ IMS ซึ่งมี 2ส่วนด้วยกัน คือ

Innovation Management System การพัฒนาระบบงานใหม่ในองค์กรที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงแบบก้าวกระโดด
Innovation Management Standard มาตรฐานที่จะมากำหนดแนวทางและวิธีการ(guideline) เพื่อให้แน่ใจว่าระบบการจัดการนั้นดำเนินการได้อย่างครบถ้วนรอบด้านมากพอ

ในด้านการจัดการนวัตกรรมขององค์กรเพื่อที่จะทำให้พนักงานกล้าคิด กล้าฝันและกล้าที่จะทำอะไรก็ตามให้แตกต่างไปจากเดิม สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า “คิดได้” แต่จะมีสักกี่คนที่ “ทำได้”และทำให้เป็นที่ยอมรับของคน จึงมีคำถามขึ้นมาว่า ถ้าจะมีแนวทางอะไรบางอย่างที่สั้นจดจำง่าย และให้ความกระจ่างในการที่จะทำความเข้าใจถึงกระบวนการสร้างนวัตกรรม (InnovationProcess) แล้วนั้น ผมก็ขอยกขึ้นมาให้เห็นเป็นองค์ประกอบใหญ่ๆ 3 ตัว ดังนี้
-  แนวคิดใหม่ทางธุรกิจ (Businessideas) ผสมผสานกับ
-  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย (Technology application) เพื่อตอบโจทย์
-  ความต้องการของตลาดและสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า (Market demand)

ซึ่งในองค์ประกอบทั้ง 3 สิ่งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าข้อเสนอหรือโครงการนั้นสมควรที่จะได้ไปต่อ และนำไปสู่การสนับสนุนให้ลงมือคิดค้น วิจัย พัฒนาจนนำสู่ท้องตลาดหรือการใช้งาน

ภาวะผู้นำ (Leadership)
การเป็นผู้นำนั้นเป็นได้ไม่ยากแต่การที่จะเป็นผู้นำที่ดีให้ได้นั้นต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของการบังคับบัญชา   ภาวะผู้นำ(Leadership) ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจหรือภาครัฐต้องมีความรู้บางอย่างในทุกอย่างหรือรู้ทุกอย่างในบางอย่าง "Know Something in Everything" หรือ "Know Everything in Something" สามารถนำไปใช้ได้ในทุกวิชาชีพซึ่งมีการกล่าวกันว่าในชีวิตของคนๆ หนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ทำอะไรได้สำเร็จ 80% เกิดจากภาวะผู้นำ อีก 20% เกิดจากวิชาการ หรือเรียกว่ากฎ 80 : 20 ของ Pareto"sLaw  

ภาวะผู้นำ(Leadership )ไม่ใช่อยู่ที่ป้ายตำแหน่งหน้าห้อง แต่ผู้นำคือคนที่พูดอะไร คิดอะไรทำอะไรแล้วมีคนอยากร่วมทำงานและสนับสนุน ซึ่งภาวะผู้นำนี้จะมีการผสมผสานกันอยู่หลายอย่าง บางอย่างเกิดจากการมีฐานะดี ดูแลคนอื่นได้เกิดจากการมีความรู้ดีสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ หรืออาจเกิดจากการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างสม่ำเสมอแล้วเกิดการยอมรับ บางทีเกิดอุบัติเหตุสถานการณ์วิกฤตก็สร้างวีรบุรุษประการที่สำคัญคือ ผู้นำที่คิดช้า ตอบช้าในบางกรณี แสดงว่ากำลังปฏิเสธซึ่งภาษานักกฎหมายหมายความว่า การให้ความยุติธรรมช้าเท่ากับปฏิเสธความยุติธรรมดังนั้น ผู้นำถ้าต้องการให้กำลังใจใครต้องทำอย่างรวดเร็วแต่ถ้าจะทำให้เสียกำลังใจช้าหน่อยก็ได้

อย่างไรก็ตาม ในโลกสมัยใหม่ผู้นำต้องเป็นผู้สร้างแรงจูงใจให้สมาชิกในองค์กรมีขวัญและกำลังใจในการทำงานแบบทุ่มเทหมดสมัยแล้วที่จะควบคุ
มสั่งการบังคับบัญชาให้ทำตามแบบพิมพ์เขียวซึ่งจะทำให้คุณภาพงานออกมาไม่ดีรวมทั้งจะไม่มีใครทำตามในสิ่งที่ไม่เชื่อ ไม่ศรัทธาและไม่ได้มีส่วนร่วมอีกต่อไป 

AI Engineer บุคคลสำคัญผู้นำปัญญาประดิษฐ์มาพัฒนาองค์กร  
ปัจจุบันนี้ AI ถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ การเงิน สุขภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของคนในสังคมในยุคนี้ส่งผลให้บุคคลที่นำปัญญาประดิษฐ์นี้มาพัฒนาองค์กรอย่าง AI Engineer กลายเป็นตำแหน่งที่เป็นที่ต้องการของหลายบริษัทและตลาดแรงงานหากใครยังสงสัยว่า AI Engineer คืออะไรเรียนจบอะไรมาถึงทำงานด้านนี้ได้ จบมาแล้วสามารถทำงานเกี่ยวกับอะไรได้บ้างและต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องไหนบ้างถึงจะมีคุณสมบัติเพียงพอต่อตำแหน่งนี้วันนี้ JobDB มีข้อมูลมาฝากกัน

 AI Engineer 
คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์หน้าที่หลัก ๆ คือการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งด้วยเทคนิคต่าง ๆเพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้ พัฒนา และสามารถตัดสินใจในเรื่องที่ซับซ้อนได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้นเรื่อยๆนอกจากนี้ยังเป็นคนที่นำข้อมูลใหม่ๆมาพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบัน  

สามารถติดต่อที่ปรึกษาให้กับองค์กรได้ที่ https://www.sdccorporation.com/ บริษัทที่ปรึกษา มีหลักสูตรอบรมพัฒนาบุคลากร

สนใจ หลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร ติดต่อได้ที่ บริษัทที่ปรึกษา
Facebook : Strengthsdevelopmentcenter
Linkedin : sdccorporation
Phone : 081-991-4118


บทความน่าสนใจ

SDC | ที่ปรึกษาให้กับองค์กร  พัฒนาศักยภาพบุคลากร

บริษัท เอสดีซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด

แผนที่ บริษัทที่ปรึกษา หลักสูตรอบรมภายในองค์กร อบรมพนักงาน

ที่อยู่ : สำนักงานใหญ่  42/5 หมู่ 1 ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 13000

GET IN TOUCH

ติดตามเราได้ที่

Facebook SDC | ที่ปรึกษาให้กับองค์กร  พัฒนาศักยภาพบุคลากร Line SDC | ที่ปรึกษาให้กับองค์กร  พัฒนาศักยภาพบุคลากร Youtube SDC | ที่ปรึกษาให้กับองค์กร  พัฒนาศักยภาพบุคลากร in SDC | ที่ปรึกษาให้กับองค์กร  พัฒนาศักยภาพบุคลากร